การเลือกเลนส์ให้เหมาะกับบุคคล

หลาย ๆ คนอาจจะพบปัญหาบางอย่าง ในเรื่องของการขับรถ 80% มักจะบ่นว่า เห็นแสงสะท้อน

บางคนจะบอกว่าแสงไฟเป็นแฉก หรือบางคนอาจจะพบว่าลอกต้อกระจก หรือทำเลสิกแล้ว กลับมีปัญหาแสง Glare

Glare คือ แสงฟุ้ง ๆ กระจายเมื่อมองดวงไฟ , Halo คือ มองดวงไฟจะเห็นแสงรอบดวงไฟ หรือ อาจจะเป็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ


ภาพแสดงตัวอย่างปัญหาเมื่อมองดวงไฟ

ปัญหาเมื่อมองดวงไฟแล้วเห็น แสงฟุ้ง แสงกระจาย แสงดวงไฟไม่กลม นั้นเกิดได้หลายสาเหตุ

1. มีสายตาสั้น ยาว หรือเอียง จึงทำให้เห็นแสงเป็นฟุ้ง ๆ หรือเห็นแสงไฟเป็นกระจาย หากมีสายตาเอียงด้วย จะพบว่ามีแสงเป็นแฉกรอบดวงไฟ

2. ต้อกระจ การขุ่นของต้อกระจก สามารถส่งผลให้เกิดเห็น Glare ในลักษณะที่ต่างกันออกไป

3. กระจกตาบวม หรืออักเสบ อาจจะพบแสง Glare หรือ พบ Halo ร่วมด้วย เนื่องจากมีการบวมน้ำจึงสามารถเห็นแสงรอบดวงไฟได้

4. ต้อหิน มักจะพบ Halo ขณะมองไฟ จะเห็นเป็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ

5. การทำเลสิก จะเกิดผลต่อการหักเหแสง เพราะไปเปลี่ยนความโค้งกระจกตา ทำให้เมื่อเห็นดวงไฟเวลากลางคืน ขนาดของรูม่านตาขยาย

ยิ่งส่งผลให้เห็นแสง Glare มากขึ้น

6. กระจกตาโป่งพอง ปัจจัยหลักจริง ๆ ไม่ทราบสาเหตุ แต่ปัจจัยหลักมาจากพันธุกรรม จะส่งผลต่อการมองเห็น จะทำให้เห็นภาพซ้อน

(Ghosting or Double vision)และเมื่อเวลามองดวงไฟ จะพบว่ามี Glare + Halo เยอะจนบางท่านอาจจะไม่สามารถขับรถกลางคืนได้

ทั้งนี้อาการจะขึ้นอยู่กับระยะที่เป็นด้วย

7. ตาแห้ง เกิดจาก หนังตาอักเสบ , ต่อมไขมันอุดตัน , ฟิล์มน้ำไม่สมบูรณ์ , Stevens Johnson Syndrome (กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน)

,การทานยารักษาสิว ,ฮอร์โมนเปลี่ยน เป็นต้น  ล้วนส่งผลต่อการเห็นเเสง Glare ได้มากขึ้นด้วย เมื่อหยอดน้ำตาเทียมอาการจะดีขึ้น

8. วุ้นในตา การหักเหแสงของภายใน หรือขนาดของรูม่านตาใหญ่มาก จะส่งผลต่อการเห็น Glare มากกว่าคนที่มีรูม่านตาขนาดเล็ก

9. การรักษาโรคบางอย่าง เช่น การยิงเลเซอร์ที่ม่านตา รักษาต้อหิน บางท่านอาจจะพบจุดแสงเพิ่มเข้ามา หรือแสงแยงตาเข้ามา

เกิดจากการยิงม่านตา เสมือนมีรูม่านตาเล็ก ๆ เพิ่มเข้ามานั่นเอง , การใส่เลนส์ตาเทียมรักษาต้อกระจก เพราะเลนส์ตาเทียม

หรือชนิดของเลนส์ตาเทียม ที่ใส่เข้าไปจะส่งผลต่อการหักเหแสง อาจจะรู้สึกรำคาญแสง Glare

ตัวอย่าง ปัญหาการมองเห็นดวงไฟ

ภาพการมองเห็นดวงไฟของผู้ที่เป็น กระจกตาโป่งพอง(Keratoconus)

จะเห็นว่าแสงไฟจะเป็น Ghosting image การแก้ปัญหาด้วยเลนส์แว่น หรือคอนเเทคเลนส์

ช่วยได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่อาจจะแก้ปัญหาของการเห็นภาพซ้อนทั้งหมดที่เกิดจากกระจกตาโป่งพองได้

ต้องแก้ที่สาเหตุหลักจริง ๆ คือการเปลี่ยนกระจกตา จะเปลี่ยนถ่ายกระจกตา ก็ต่อเมื่อกรณีเป็นกระจกตาโป่งพองระดับรุนแรง

---

ภาพด้านบน : เป็นการมองเห็นก่อนการทำเลสิก ภาพด้านล่าง : การมองเห็นไฟหน้ารถของผู้ที่ทำเลสิก

การเห็นแสง Glare เป็น effect ของการทำเลสิก เพราะกระจกตาแบนลง

หากผู้ที่ทำเลสิกมีรูม่านตาใหญ่ด้วยแล้ว ปริมาณแสง Glare จะมากขึ้นด้วย

สามารถ แก้ไขด้วยเลนส์ ช่วยตัดแสงเวลากลางคืน สำหรับผู้ที่ต้องการขับรถ

---

ภาพซ้าย การมองเห็นของคนทั่วไป ภาพขวาการมองเห็นของผู้ที่เป็นต้อกระจก

จะเห็นว่าภาพการมองของคนที่เป็นต้อกระจก จะดูเป็นฟุ้ง ๆ เหมือนมีหมอก ตลอดเวลา

นั่นเพราะ เลนส์ตาขุ่น ในระยะแรก ๆ สามารถแก้ไขการมองเห็นได้ด้วยเลนส์

แต่การมองเห็นมัว ๆ จะเป็นเพิ่มขึ้น หากต้อกระจกเป็นมากขึ้น

กรณีเป็นต้อกระจกมาก ๆ จำเป็นต้องแก้ไขด้วยการผ่าต้อกระจก

---

ภาพซ้าย การมองเห็นของผู้ที่เป็นต้อกระจก , ภาพขวา การมองเห็นเมื่อลอกต้อกระจก ใส่เลนส์ตาเทียมแล้ว

จะพบว่าการผ่าต้อกระจก ใส่เลนส์ตาเทียมแล้ว การมองดูคมชัดขึ้น แต่จะมีปัญหาจากการมองแสงไฟ

เพราะตัวเลนส์ตาเทียมจะมีการกระจายแสง หรือการดูดซับแสงที่ต่างกับเลนส์ตาจริง

ทำให้จะเป็นอุปสรรคต่อการขับรถ ส่วนนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยเลนส์สำหรับขับรถ

กรณี ลอกต้อกระจกแล้ว บางท่านอาจจะใส่เลนส์ลดแสงฟุ้งแล้ว ก็สามารถเห็นแสงฟุ้งได้อีก

ขึ้นอยู่กับชนิดของเลนส์ตาเทียมที่ใส่เข้าไปด้วย

---

ภาพซ้าย ปัญหามองเห็นดวงไฟของคนทั่วไป , ภาพขวา ปัญหาการมองเห็นดวงไฟของผู้ที่เป็นต้อหิน

ปัญหาการมองเห็นแสงไฟของคนทั่ว ๆ ไปจะพบแสงไฟ ฟุ้งกระจาย หรือเห็นแสงไฟเป็นแฉก

แต่สำหรับ ผู้ที่เป็นต้อหิน หรือผู้ที่มีกระจกตาอักเสบ เมื่อมองแสงไฟ แล้วจะเห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ

อาการเห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟจะดีขึ้น หากได้รับการรักษาต้อหิน หรือรักษากระจกตาอักเสบ

------

ภาพการมองเห็นดวงไฟ ของผู้ที่มีปัญหาตาแห้ง

เมื่อฟิล์มน้ำตาแห้งเร็ว หรือตาแห้ง จะส่งผลให้เกิดการกระเจิงของแสง ทำให้เห็นเป็นแสง Glare หรือ Starbursts

กรณีตาแห้ง อาการเห็นแสงฟุ้ง หรือแฉก จะดีขึ้นหากกระพริบตา หรือหยอดน้ำตาเทียม

ตัวเลนส์แว่นจะช่วยลดแสงได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เมื่ออยู่ในที่อากาศแห้ง อยู่ห้องแอร์ อยู่หน้าจอคอม

อาการตาแห้งก็จะมีขึ้นอีกทำให้เห็นแสง Glare / Starburstsได้อีก

---

จากงานวิจัยจะเกิดหลายทฤษฎี ของการลด Glare

1.ทฤษฎีลดแสง เป็นการลดแสง

กล่าวง่าย ๆ คือ การลด Contrast นั่นเอง
พบในเลนส์ Auto หรือ Transition เลนส์ออกแดดเปลี่ยนสี จะช่วยลดแสงทุกคลื่น

มักจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเพื่อไม่ให้การมองเห็นสีเพี้ยน

ข้อด้อยคือ เวลาขับรถกลางคืน ยังคงเห็นแสง Glare อยู่

หากเปลี่ยนเป็นสีเขียว หรือน้ำตาล การมองเห็นสีจะเห็นสีเพี้ยนเล็กน้อย

ภาพตัวอย่างเลนส์เปลี่ยนสี ที่ช่วยลดแสง จะเห็นผลได้ดีในสภาวะกลางวัน

* เลนส์ที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จะเหมาะกับสภาพพื้นที่ เขตที่มีความมืด เช่น เขตโซนยุโรป ที่มีอากาศหนาว

เวลากลางวัน น้อยกว่า ช่วงกลางคืนนั่นเอง ดังนั้นการเปลี่ยนเป้นสีน้ำตาลจะช่วย ให้การมองเห็นคมขึ้น

* เลนส์ที่เปลี่ยนเป็นสีเขียว เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเเสบตา ต้องให้การมองสบายตา ดังนั้นการเปลี่ยนเป็นสีเขียวจะช่วยให้

อาการแสบตาดีขึ้น แต่การมองเห็นสีจะชีฟไปทางสีเขียว การเห้นสีจะเพี้ยนอีกเล็กน้อย

* เลนส์ที่เปลี่ยนสีเป็นสีเทา จะช่วยลด แสงทุกคลื่นอย่างละเท่า ๆกัน ดังนั้นการมองเห็นสีจะไม่เพี้ยน

เป็นช้อยเลือกที่ดี สำหรับผู้ที่กังวลว่าสีจะเพี้ยน

2.ทฤษฎีลดแสงบางช่วงของคลื่นแสง
เรามักจะเคยได้ยิน การตัดแสงสีฟ้า ที่มีหลาย ๆ แบรนด์ ผลิตออกมา จะเป็นการตัดของช่วงคลื่นใดคลื่นหนึ่ง

เสมือนการลดแสงไป แสง Glare จะลดลงนั่นเอง แสงGlare จะลดลงทั้งภาวะกลางวันและกลางคืน

ข้อดีคือ หากใช้คอม มือถือ แท็บเล็ต จะรู้สึกสบายตา

ข้อด้อย คือ เมื่อตัดแสงคลื่นสีฟ้าไปแสงสีที่เห็นจะชีฟ ไปในแนวแสงที่เหลือ

ทำให้มองเห็นสีเพี้ยน จะเห็นสีออกเหลือง ๆ นิดหน่อยเมื่อมองผ่านเลนส์

ตัวอย่างเลนส์ ตัดเเสงสีฟ้า ผิวโค้ทเลนส์จะสะท้อนสีม่วง ๆ

หากสังเกตจากกระดาษ จะออกสีเหลือง ๆ เพิ่มขึ้น แต่ละเเบรนด์จะมีความเหลืองไม่เท่ากัน

* เมื่อเอามาพัฒนาต่อจากทฤษฎีการตัดช่วงคลื่นแสงคลื่นใดคลื่นหนึ่ง จะช่วยลดการรับรู้ แสง Glare ลดลง

จนเอามาพัฒนาเป็น Drive safe เทคโนโลยีของ Ziess ที่ตัดช่วงคลื่นแสงต่ำ ๆ

ผิวโค้ทของตัวเลนส์จะออกสีอมม่วงนิด ๆ ทำให้การขับลดกลางคืน แสง Glare จะลดลงนั่นเอง

ภาพการมองเห็นของเลนส์ Drive safe ของ Ziess

3.ทฤษฎีลดแสง และการตัดคลื่นแสง
มันคือการเอาเลนส์เปลี่ยนสี+ตัดแสงสีฟ้า นั่นเอง ตัวนี้จะช่วยให้การมองเห็นแสง Glare ลดลงได้มาก

แต่บางครั้งที่อ่านหนังสือในที่แสงน้อย หรือ บางท่านที่รูม่านตาเล็ก ๆ อาจจะรู้สึกว่าความสว่างไม่พอ

ตัวอย่างเลนส์ปลี่ยนสี + ตัดแสงสีฟ้า จะสังเกตว่าผิวโค้ทจะมีสีฟ้า

4.ทฤษฎีบล็อกคลื่นแสงที่เป็นอันตรายต่อตา(UV) และการเพิ่มฟิลเตอร์
พบในเลนส์ของ Rodenstock (lens Rodenstock driving) จะมีการบล็อกคลื่นแสงที่เป็นอันตรายต่อดวงตา

และเพิ่มฟิลเตอร์เข้าไปที่เนื้อเลนส์ เป็นฟิลเตอร์สีน้ำตาลอ่อน ๆ จะช่วยเพิ่ม Contrast จะทำให้ตอนกลางคืน

เห็นภาพคมขึ้นสว่างขึ้น และตัวโค้ดจะตัดแสง Glare ทำให้รู้สึกสบายตาขึ้น

ภาพด้านล่าง คือการมองเห็นเมื่อใส่ Road2 Rodenstock

เมื่อใส่จะเห็นภาพสว่างขึ้นและคมขึ้น เหมาะกับการขับรถ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องขับรถตอนกลางคืน

---

หากท่านใดต้องการปรึกษาปัญหาสายตา หรือปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เพื่อเลือกชนิดเลนส์

สามารถ ติดต่อสอบถามมาได้ที่

Line @bridders

โทร. 083-063-9623

หรือจะเดินทางมาด้วยตนเองที่ร้าน bridders ก็ได้ค่ะร้านเปิดทุกวัน 11.00-20.00 น.